ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์แฟ้มผลงานอิเล็กทรอนิกส์  

(E-Portfolio)  ของ   ครูฉัตรชัย ชายแก้ว

ข้อมูลผู้ประเมิน


ข้าพเจ้าขอแสดงเจตจำนงในการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางานตำแห่งครู  วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ  ซึ่งเป็นตำแหน่งและวิทยฐานะที่ดำรงอยู่ในปัจจุบันกับผู้อำนวยการสถานศึกษา ไว้ดังต่อไปนี้

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

2. งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งครู

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

1. ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ก.ค.ศ. กำหนด            

   1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน 20 ชั่วโมง/สัปดาห์ดังนี้

      - กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ)

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6   จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา วิทยาศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์

     - กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ)

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3   จำนวน 5  ชั่วโมง/สัปดาห์

       - กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา เพิ่มเติมคอมพิวเตอร์

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3   จำนวน 6 ชั่วโมง/สัปดาห์

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์

การเรียนรู้ของผู้เรียน 

ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังของวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ คือ การริเริ่ม พัฒนา การจัดการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น (ทั้งนี้ ประเด็นท้าทายอาจจะแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังในวิทยฐานะที่สูงกว่าได้)

ประเด็นท้าทาย รื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้น ป.6 ให้มีผลสัมฤทธิ์ที่ดีขึ้น โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ Active Learning ผ่านบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)


1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

 สภาพปัญหาของผู้เรียนด้านวิทยาการคำนวณ ยังพบปัญหาอย่างมากในการคิด วิเคราะห์ และการแก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการคิดเชิงคำนวณ เนื่องจากนักเรียนไม่เข้าใจถึงกระบวนการทำงานแนวคิดเชิงคำนวณ ซึ่งแนวทางการจัดการเรียนการสอนแบบเดิมยังไม่ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เท่าที่ควร เนื่องมาจากบริบทของสิ่งแวดล้อม การเข้าถึงสื่อ/เทคโนโลยีของผู้เรียนค่อนข้างไม่ครอบคลุม จึงส่งผลให้การจัดการเรียนรู้ต่อผู้เรียนยังไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ดังนั้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาทักษะกระบวนการแนวคิดเชิงคำนวณที่ดีขึ้น ครูผู้สอนจึงใช้วิธีการประยุกต์จากเทคโนโลยีด้วยแบบการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรูปแบบ Active Learning  ซึ่งนวัตกรรมที่นำมาปรับประยุกต์ใช้ในการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการคิดเชิงคำนวณ ควรมีลักษณะเร้าความสนใจของผู้เรียนท้าทายความสามารถ เข้าใจง่าย มีภาพ เสียง วิดีโอประกอบ วางรูปแบบสวยงามและสามารถฝึกได้ด้วยตนเอง อันจะส่งผลให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะการแก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการคิดเชิงคำนวณและประยุกต์ความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้  บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) มีความสำคัญและมีประโยชน์ต่อการเรียนการสอนวิชาที่เป็นทักษะมาก  เพราะเป็นสื่อการสอนที่ช่วยลดภาระของครู ช่วยให้นักเรียนได้ฝึกทักษะให้ดีขึ้น ส่งเสริมในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล ทำให้นักเรียนประสบผลสำเร็จในทางจิตใจมากขึ้น ช่วยเสริมทักษะแนวคิดเชิงคำนวณให้คงทน รวมทั้งเป็นเครื่องมือวัดผลการเรียนหลังจากเรียนบทเรียนแล้ว ตลอดจนนักเรียนสามารถทบทวนได้ด้วยตนเอง ทำให้ครูมองเห็นปัญหาต่าง ๆ ของนักเรียนได้ชัดเจน นักเรียนสามารถฝึกฝนได้เต็มที่นอกเหนือจากที่เรียนในเวลาเรียนซึ่งทำให้ผู้เรียนเห็นความก้าวหน้าของตนเอง เพื่อให้กิจกรรมมีความหลากหลาย ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนฝึกฝนทักษะได้ทุกเวลาจากเทคโนโลยีซึ่งทำให้กิจกรรมน่าสนใจมากยิ่งขึ้น   

คลิปการจัดการเรียนรู้ วิชา วิทยาการคำนวณ